วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🌈 Learning Log 4 🌈
- Thursday 29th August 2019 -
( 12.30 15.30 PM. )

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

👪 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 👪


🎓 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
One-Way Communication - การสื่อสารทางเดียว
Two-way Communication - การสื่อสารสองทาง
Verbal Communication - การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
Non-Verbal Communication - การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา
personal Communication - การสื่อสารส่วนบุคคล
Intrapersonal Communication - การสื่อสารระหว่างบุคคล
Mass Communication - การสื่อสารมวลชน
Channel - ช่องทางการส่งสาร
Clarity of audience - ความสามารถของผู้รับสาร
Clearly - ความชัดเจน

🎓 ความหมายของการสื่อสาร
      การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อชักจูงให้ผู้รับสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

🎓 ความสำคัญของการสื่อสาร
1.  ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.  ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.  ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.  ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.  ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

🎓 รูปแบบของการสื่อสาร

1.  รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล  (Aristotle’s Model of Communication)




2.  รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)




3.  รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)




4.  รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )

5.  รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)

🎓 องค์ประกอบของการสื่อสาร 
1.  ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2.  ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3.  สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4.  ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5.  ความเข้าใจและการตอบสนอง

🎓 ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.  ผู้จัดกับผู้ชม
2.  ผู้พูดกับผู้ฟัง
3.  ผู้ถามกับผู้ตอบ
4.  คนแสดงกับคนดู
5.  นักเขียนกับนักอ่าน
6.  ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว

7.  คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

🎓 สื่อ
      ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลาง

🎓 สาร
      เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกันในข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ จะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

🎓 วัตุประสงค์ของการสื่อสาร
1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ
2.  เพื่อความบันเทิงใจ
3.  เพื่อชักจูงใจ

🎓 ประเภทของการสื่อสาร
1.  จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร ได้แก่
-  การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication
-  การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)
2.  จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก ได้แก่
-  การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication)
-  การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication)
3.  จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร ได้แก่
-  การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
-  การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
-  การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)




🎓 อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร 
      ผู้ส่งสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่น การใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจหรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ หรือข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป ผู้ส่งสารรีบเร่งด่วนสรุป อารมณ์ไม่คงดี มีการส่งข้อมูลหลายขั้นตอนรวมถึงผู้ส่งสารมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ทำให้ได้รับข่าวสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์


🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

คำถามท้ายบท 💬

1.   จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ

2.  การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ

3.  รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ

4.  ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ

5.  ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

Assessment 🎅
Self-Assessment : วันนี้อาจารย์มีเกมมาให้นักศึกษาเล่นระหว่างเรียน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆในห้องตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการเล่นเกมเป็นอย่างมากค่ะ 😂
Teacher Assessment : นอกจากเนื้อหาการเรียน อาจารย์ยังมีคติสอนใจให้นักศึกษาด้วย ถือเป็นสิ่งที่ดีค่ะ 💚


วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🌈 Learning Log 3 🌈
- Thursday 22th August 2019 -
( 12.30 15.30 PM. )

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

👪 หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 👪


🎓 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
Educational Networking - การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
Understanding - การสร้างความเข้าใจ
Behavior change - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Parental Involvement - การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
Role of parent - บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
Parent education model - รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
Formal education - การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
Informal education - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ

🎓 ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

🎓 ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1.  เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2.  เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษา
3.  ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5.  ช่วยเสริมสร้างทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรงมากขึ้น

🎓 วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1.  เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2.  เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3.  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5.  เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

🎓  รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
       รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 2 ส่วนหลักๆ คือ    การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุกๆ ด้าน และการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา เช่น การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการปรึกษา เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมในการทำงาน เสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

🎓  แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
           หลักการและแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้              ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมนั้น อยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น    ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ครอบครัว เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง โดยอาจจัดหลายกิจกรรมประกอบกัน ทั้งนี้ทางโรงเรียนต้องชี้แจงให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรม ให้ตรงตามความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม และยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

🎓  แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1.  รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2.  ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3.  ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง


🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

คำถามท้ายบท 💬

1.    การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ทำให้ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจที่ดพียงพอและถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตเป็นไปตามพัฒนาการในทุกๆด้าน อีกทั้งเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนอีกด้วย 

2.  ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายและ          ยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ ารใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base)      เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น      การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล ( Home School )
- การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base)        เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง

3.  นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ  ช่วยให้เข้าถึงผู้ปกครองได้ง่าย และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ปกครองอยากมีส่วนร่วมกับทางโรงเรียนมากขึ้น


4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ  การอบรม เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
          - พัฒนาการเด็ก

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

Assessment 🎅
Self-Assessment : นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆในห้องตั้งใจเรียน แต่งกายสะอาดเรียบร้อยค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น 



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🌈 Learning Log 2 🌈
- Thursday 15th August 2019 -
( 12.30 15.30 PM. )

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻
  
👪 การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 👪


🎓 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
Parent - พ่อแม่  ผู้ปกครอง
Education - การศึกษา
Early Childhood - เด็กปฐมวัย
Parent Education for Early Childhood - การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
Is a good example of children - การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
Attentiveness - ความใจใส่
Intimacy - ความใกล้ชิด
Family relationship - สายสัมพันธ์ในครอบครัว
Accept emotions and feelings of children - ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก

🎓 ความหมายของผู้ปกครอง
       ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่เป็นบิดา มารดา ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแลให้ความรักและความเอาใจใส่ห่วงใยตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก

🎓 ความสำคัญของผู้ปกครอง
       พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ซึ่งพ่อแม่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ สังคมและสติปัญญา 
       โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสมและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ความอบอุ่น อบรมเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ด้วยความรักความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

🎓 บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
       ผู้ปกครองมีหน้าที่อบรมเลี้ยงดู ให้การศึกษา และจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กทุกๆด้าน อบนรมเลี้ยงดูให้เด็กมีวินัย รู้จักวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และเจริญเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ  

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ 📝
1. ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3. ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7. ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม


คำถามท้ายบท

1. ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ในสังคมปัจจุบันสังคมไทยมีคุณแม่วัยใสเพิ่มมากขึ้น และมีการเจริญเติบโตของเทคโนโลยี ในฐานะของนักศึกษาคิดว่าสิ่งสำคัญอับดับแรก คือ การให้ความรู้ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญต่อการดูแลเด็ก ถ้าหากผู้ปกครองมีความรู้แล้ว ก็จะทำให้เป็นผู้ปกครองที่มีคุณภาพ สามารถดูแล และให้ความรู้บุตรได้เต็มที่ เพราะปัจจุบันเด็กๆส่วนใหญ่มักติดโทรศัพท์ รวมถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้สามารถชักจูงความคิดของเด็กได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ปกครองควรมีความรู้ และมีความพร้อม ความเข้าใจในตัวเด็ก รวมถึงเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ มีความคิดที่ดีและยอมรับความคิดเห็นของลูก เพื่อนง่ายต่อการสื่อสารและการเลี้ยงดู

2. จงอธิบาย วิธีแนวทางที่ผู้ปกครองสามารภใช้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาน อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญหา ให้แก่เด็กปฐมวัย
ตอบ ผู้ปกครองควรหารกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กครบทั้ง 4 ด้าน เช่น 
การทำกิจกรรมศิลปะ 🎨
🌈 ด้านร่างกาย  เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก จากการฉีก การตัด การปะ รวมไปถึงการปั้นสิ่งต่างๆ
🌈 ด้านสังคม  เด็กๆมีการพูดคุยกับพ่อแม่ หรือเพื่อนๆระหว่างการทำกิจกรรม รู้จักการแบ่งปัน การรอคอย ในการใช้อุปกรณ์
🌈 ด้านอารมณ์ - จิตใจ  เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรม      ได้ชื่นชมผลงานตนเอง รวมถึงผลงานเพื่อคนอื่นๆ
🌈 ด้านสติปัญญา  เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น กรรไกร พ่อแม่อาจใช้คำถามเพื่อเป็นการสอนเด็กไปในตัว ในการทำกิจกรรมเขาได้แสดงออกทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งที่ดี พ่อแม่ควรสนับสนุนและไ่ควรปิดกั้นความคิดของลูก

3. การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและครฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร 
ตอบ การสอนที่ดีที่สุด คือการที่ตัวผู้สอน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีให้บุตรหลานเห็นอยู่เสมอ เพราะเด็กจะซึมซับจากพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่แสดงออกมาโดยอัตโนมัติ เช่น พ่อแม่นั่งอ่านหนังสือ เมื่อเด็กเห็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำ เขาก็จะเลียนแบบแม้ว่าในวัยนั้นเขายังอ่านหนังสือไม่ได้ตาม 

4. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือปัยหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย
ตอบ - ปัญหาความแตกต่างระหว่างวัยของผู้ปกครองและเด็ก  ผู้ปกครองต้องเปิดใจยอมรับ เช่น เด็กในปฐมวัยอาจจะทำอะไรช้า หรือบางครั้งเขามีคำถามมากมายที่จะถามพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่ควรให้ความสนใจ ไม่ควรปล่อยปะละเลย
- ความคาดหวังอยากให้ลูกเป็นอย่างที่พ่อแม่ตั้งใจ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับหลายๆครอบครัว คือพ่อแม่คาดหวังอยากให้ลูกเป็น โดยไม่ได้ถามถึงความสมัครใจของลูกว่าอยากทำสิ่งนี้หรือไม่ อาจทำให้เด็กไม่เก็บกดและไม่มีความสุขในการเรียน 
- ผู้ปกครองตามใจเด็กจนเกินไป ทำให้เด็กเอาแต่ใจ ไม่มีเหตุผล ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เกืดจากผู้ปกครองเลี้ยงดูโดยไม่ให้ความสนใจ อาจเกิดจากผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ลูก เลี้ยงดูด้วยสิ่งของและวัตถุ เด็กจึงเกิดพฤติกรรมดังกล่าว และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคมอีกด้วย

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻

Assessment 🎅
Self-Assessment : นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆในห้องตั้งใจเรียน แต่งกายสะอาดเรียบร้อย และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
Teacher Assessment : อาจารย์สอนเข้าใจมีการสอดแทรก       คำศัทพ์เกี่ยวการรายวิชา เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น
🌈 Learning Log 1 🌈
- Thursday 8th August 2019 -
( 12.30 15.30 PM. )

🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻🌷🌻
       วันนี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอน มีการแจกใบเช็คชื่อให้นักศึกษาทุกคน ต่อมาอาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดของเนื้อหาวิชา และงานที่นักศึกษาต้องได้รับ หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน เพื่อเตรียมพร้อมในการทำโครงการ การให้คำปรึกษาผู้ปกครองในชุมชม ซึ่งเป็นส่วนหนึงในงานที่นักศึกษาทุกคนต้องทำในรายวิชานี้ค่ะ 

Assessment 🎅
Self-Assessment :  นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมตลอดเวลาค่ะ
Teacher Assessment :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ชี้แจ้งรายละเอียดของเนื้อหาได้อย่างครบถ้วน เป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศผ่อนคลาย และน่าเรียนค่ะ